วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พระพุทธรูปประจำวันเกิด




พระบูชาของคนเกิดวันอาทิตย์
พระพุทธรูปปางถวายเนตร


พระพุทธลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
ประวัติย่อ...เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์เป็นเ วลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จออกไปจากภายใต้ร่มโพธิ์ไปประทับยืนอย ู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ทอดพระเนตรพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อรำลึกถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ที่แผ่กิ่งก้ านประทานร่มเงา ให้ความชุ่มเย็น เป็นการอำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
พระคาถาบูชาผู้เกิดวันอาทิตย์ ท่านให้สวดมนต์บูชาพระพุทธรูปปางถวายเนตรให้เต็มกำลัง 6 จบ เวลาสวดมนต์ให้หันหน้าไปทางทิศอีสาน จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล ให้สวดโมรปริตรดังนี้
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม, เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา, นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา
หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง 6 จบ เช่นเดียวกัน

" อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา "
ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรองๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน




พระบูชาของคนเกิดวันจันทร์
พระพุทธรูปปางห้ามญาติ


พระพุทธลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร นิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง
พระพุทธรูปปางนี้ มีที่มาจากพุทธประวัติตอนหนึ่ง เป็นเหตุการณ์หลังจากที่ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว มีอยู่สมัยหนึ่งพระกษัตริย์แห่งโกลิยะวงศ์ ซึ่งเป็นพระประยุรญาติ ทางฝ่ายพระพุทธมารดา กับพวกกษัตริย์แห่งศากยวงศ์ ซึ่งเป็นพระประยูรญาติ ทางฝ่ายพระพุทธบิดา ต่างแย่งน้ำกัน โดยต่างฝ่ายต่างก็ให้ทดน้ำจากแม่น้ำโรหิณีเข้านาของฝ่ายตน เนื่องจากปีนั้นฝนน้อย น้ำไม่พอทำนา เกิดการวิวาทกันขึ้นจนถึงขึ้นใกล้จะทำสงครามกัน พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณ จึงได้ทรงเสด็จไป ณ ที่ซึ่งทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน และตรัสถามว่าวิวาทกันด้วยเรื่องอะไร ทั้งสองฝ่ายทูลตอบว่า วิวาทกันเรื่องน้ำ พระองค์จึงตรัสถามต่อไปว่า น้ำกับกษัตริย์ อย่างไหนสำคัญและจะมีค่ามากกว่ากัน ทั้งสองฝ่ายก็ทูลตอบว่า กษัตริย์สำคัญ และมีค่ามากกว่า พระพุทธองค์จึงได้เทศนาให้ทั้งสองฝ่ายฟัง เหตุการณ์จึงสงบลงได้ด้วยดี
พระคาถาบูชาผู้เกิดวันจันทร์ ท่านให้สวดมนต์บูชาพระพุทธรูปห้ามสมุทรให้เต็มกำลัง 15 จบ เวลาสวดมนต์ให้หันหน้าไปทางทิศบูรพา จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง ให้สวดพระปริตรบทยันทุน ดังนี้
"ยันทุนนิมิตตัง อะวะมะคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุญ"
หรือจะใช้สวดด้วยพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง 15 จบ เช่นเดียวกัน

"ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง"
ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือน เป็นสีขาว เหลืออ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สรกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง



พระบูชาของคนเกิดวันอังคาร
พระพุทธรูปปางไสยาสน์


พระพุทธลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)
พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากพระพุทธประวัติตอนที่ พระพุทธองค์ใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ใต้ควงไม้รัง เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือนหก ดวงจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ พระพุทธองค์ทรงประทับนอนในอิริยาบทนี้
พระคาถาบูชาผู้เกิดวันอังคาร ท่านให้สวดมนต์บูชาพระพุทธรูปปางไสยาสน์ให้เต็มกำลัง 8 จบ เวลาสวดมนต์ให้กันไปทางทิศอาคเนย์ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลกับชีวิต ให้สวดบทขัดกรณีเมตตสูตร ดังนี้
"ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตัน ทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะเหฯ"
หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง 8 จบเช่นเดียวกัน

" ปิ สัม ระโล ปุ สัต พุท"
ผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีชมพู หรือ สีแดงหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีเหลือง สีแดง พึงเว้นสีขาวนวล




พระบูชาของคนเกิดวันพุธ (กลางวัน)
พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร


พระพุทธลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองทรงอุ้มบาตร โดยมีพระหัตถ์ทั้งสองรองรับบาตร
พระพุทธรูปปางนี้ มีที่มาจากพุทธประวัติ ที่พระพุทธองค์พร้อมพระภิกษุสงฆ์ จำนวนมากได้เสด็จออกบิณฑบาตที่กรุงกบิลพัสดุ์ ตามที่อำมาตย์กาฬุทายุได้ขออาราธนา พระพุทธองค์ได้ทรงทอดเนตรบรรดาพระประยูรญาติ ยังมีทิฐิมานะ ไม่เคารพพระองค์ และพระสงฆ์ พระพุทธองค์จึงได้แสดงปาฎิหารย์ บันดาลให้เกิดฝนโบกขรพรรษตกลงมา ท่ามกลางพระประยูรยาติ ฝนโบกขรพรรษนี้ผู้ใดอยากให้เปียก ก็จะเปียก ถ้าไม่อยากให้เปียก ก็จะไม่เปียก ดุจน้ำฝนตกลงในใบบัว ทำให้พระประยูรญาติทั้งหลายคลายทิฐิมานะ จากนั้นพระพุทธองค์จึงแสดงเทศนาเรื่องพระเวสสันดรชาดก
พระคาถาบูชาผู้เดวันพุธ กลางวัน ท่านให้สวดบูชาพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรให้เต็มกำลัง 17 จบ เวลาสวดให้หันหน้าไปทางทิศทักษิณ จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป ให้สวดบทขัดขันธปริตตคาถา ดังนี้
"สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเหฯ "
หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง 17 จบ เช่นเดียวกัน

" โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ "
ผู้ที่เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง




พระบูชาของคนเกิดวันพุธ (กลางคืน)
พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์


พระพุทธลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย
พระพุทธรูปปางนี้ มีที่มาจากเหตุการณ์ในพุทธกาล ตอนที่พระพุทธองค์ เสด็จหลีกออกมาจากพระสงฆ์สาวก ณ เมืองโกสัมพี ที่ก่อการวิวาทกันด้วยเรื่อง เล็กน้อย แม้พระพุทธองค์จะได้ทรงตรัสห้ามถึงสามครั้ง พระสงฆ์เหล่านั้นก็ไม่เชื่อฟัง พระพุทธองค์จึงเสด็จหลีกไปจำพรรษาอยู่ที่ป่ารักขิตวัน มีช้างปาลิไลยกะมาอยู่คอยปฏิบัติ และมีลิงเอารวงผึ้งมาถวาย เมื่อชาวเมืองโกสัมพีทราบเหตุจึงพากันไม่ถวาย ภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ที่ก่อการวิวาทดังกล่าว หลังจากออกพรรษาแล้ว ชาวเมืองโกสัมพี จึงได้นิมนต์ให้พระอานนท์ ไปอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จกลับเข้าเมืองโกสัมพี ช้างปาลิไลยกะตามพระพุทธองค์ออกมาด้วย แต่พระพุทธองค์ได้ทรงห้ามไว้เมื่อพ้นเขตป่า
พระคาถาบูชาผู้เกิดวันพุธ กลางคืน ท่านให้สวดบูชาพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ให้เต็มกำลัง 12 จบ เวลาสวดมนต์ให้หันหน้าไปทางทิศพายัพ จะมีความเจริญสุขสวัสดี ให้สวดบทสุริยปริตร ดังนี้
ยัสสานุภาเวนะ ยักขา เนวะ ทัสเสนะติ ภิงสะนังยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโตสุขัง สุปะติ สุตโตจะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติเอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห
หรือบทสวด...กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิสังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต ติฏฐะสีติสัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภพุทธาคาถาภิคิโตมหิ โนเจ มุญเจยะ จันทิมันติ
หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ โดยสวดให้เต็มกำลัง 12 จบ เช่นเดียวกัน

" วา โธ โน อะ มะ มะ วา "
ผู้ที่เกิดวันราหู หรือวันพุธกลางคืน นี้ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสเมฆหมอก สีเทา หรือสีดำหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สแดง สีขาวนวล สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ พึงเว้นสีเหลือง




พระบูชาของคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพุทธรูปปางสมาธิ


พระพุทธลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
พระพุทธรูปปางนี้ มีที่มาจากการบำเพ็ญเพียรทางจิตของเจ้าชายสิทธัตถะ เพื่อแสวงหาโมกขธรรม เพื่อความหลุดพ้นแห่งอาสวะ อันนำไปสู่ความสิ้นสุดแห่งวัฎสงสาร จนได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมสัมพุทธเจ้าในโลก ที่ใต้ควงไม้โพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยาสีสะ ประเทศมคธ ในสมัยนั้น ปัจจุบันคือ พุทธคยาในประเทศอินเดีย ณ วันเพ็ญเดือนหก ที่เราเรียกว่า วันวิสาขบูชา ในปัจจุบัน การตรัสรู้ของพระพุทธองค์ เป็นผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ที่หาผู้เสมอเหมือนมิได้ มีกระบวนการโดยย่อดังนี้ คือ ในปฐมยามแห่งราตรีนั้น พระองค์ทรงนั่งสมาธิบัลลังก์ ด้วยลักษณะอาการ ดังกล่าวข้างต้น แล้วบำเพ็ญเพียรทางจิต ตามหลักของสัมมาสมาธิ เริ่มต้นด้วยการ ละนิวรณ์ ๕ อันทำให้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม จนบรรลุฌาณที่ ๑,๒,๓ และ ๔ ตามลำดับ จนจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน จากนั้นได้น้อมใจไปสู่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก จนนับประมาณมิได้ เป็นการบรรลุวิชชาที่หนึ่ง ได้ความรู้แจ้งชัดในวัฎสงสาร คือ การเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์นั้นมีจริง ต่อมาในมัชฌิมยาม ด้วยสภาพจิตเช่นเดิม พระองค์ได้น้อมจิตไปสู่จุตูปปาตญาณ ทรงรู้ชัดถึงสัตว์ผู้กระทำกรรมอย่างใดไว้ จะได้รับผลแห่งกรรมนั้น เป็นการบรรลุวิชชาที่สอง ได้ความรู้แจ้งชัดในเรื่องของกรรมว่ามีอยู่จริง ต่อมาในปัจฉิมยาม ด้วยสภาพจิตเช่นเดิม พระองค์ได้น้อมจิตไปสู่อาสวขยญาณ ทรงรู้ชัดถึงอริยสัจสี่ และความหยั่งรู้ในธรรม อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ เป็นการบรรลุวิชชาที่สาม อันเป็นวิชชาที่สูงสุดในพระพุทธศาสนา
พระคาถาบูชาผู้เกิดวันพฤหัสบดี ท่านให้สวดบูชาพระพุทธรูปปางสมาธิให้เต็มกำลัง 19 จบ เวลาสวดมนต์ให้หันหน้าไปทางทิศประจิม จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ให้สวดบทขัดวัฏฏกปริตร ดังนี้
"ปุเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง ยัสสะ เตชะนะ ทาวัคคี มหาสัตตัง วิวัชชะยิ เถรัสสะ สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตัน ตัมภะณามะเหฯ"
หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง 19 จบ เช่นเดียวกัน

" คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ "
ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีเหลืองหรือสีไ พล ส่วนสีรองลงมาคือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว พึงเว้น สีดำ สรกรมท่า และสีน้ำเงินแก่



พระบูชาของคนเกิดวันศุกร์
พระพุทธรูปปางรำพึง


พระพุทธลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
พระพุทธรูปปางนี้ มีที่มาจากเหตุการณ์หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จ พระราชดำเนินเปลี่ยนพระอิริยาบถ พักผ่อนอยู่ภายใต้ร่มไม้อชบาลนิโครธ ทรงรำพึงถึงพระธรรม ที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ ว่าเป็นธรรมที่สุขุมลึกซึ้ง ยากที่คนทั่วไปจะรู้ตามได้ แต่เมื่อทรงคำนึงถึงคนสามประเภท อันเปรียบได้กับดอกบัวสามชนิด คือ พวกที่อยู่เหนือน้ำ เป็นพวกที่มีสติปัญญา จะเข้าใจหลักธรรมได้โดยฉับพลัน พวกอยู่เสมอน้ำ สามารถเข้าใจหลักธรรมได้ โดยอธิบายขยายความโดยพิสดารออกไป พวกที่อยู่ใต้น้ำ เป็นพวกที่พอแนะนำได้ด้วยการแนะนำฝึกสอนอบรม เมื่อคำนึงได้ดังนี้ จึงตกลงพระทัยที่จะเผยแพร่พระธรรม ทรงระลึกถึงอาฬารดาบส และอุทกดาบส ว่าเป็นบุคคลที่ควรไปโปรดก่อน แต่ก็ทราบว่าทั้งสองท่านได้ตายไปแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ที่เคยติดตามพระองค์มาสมัยที่ออกทรงผนวช พระองค์จึงเสด็จไปโปรด ได้แสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนา ณ ป่าอิติปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี จบพระธรรมเทศนา โกณทัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม
พระคาถาบูชาผู้เกิดวันศุกร์ ท่านให้สวดบูชาพระพุทธรูปปางรำพึงให้เต็มกำลัง 21 จบ เวลาสวดให้หันหน้าไปทางทิศพายัพ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน ให้สวดบทขัดพระปริตร ยัสสกนุสสะระเณนาปิฯ ดังนี้
อัปปะสันเนติ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเตอะมะนุสเสหิ สะทา กิพพิสะการิภิปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะจะคุตติยายันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห
หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง 21 จบ เช่นเดียวกัน

"อะ วิช สุ นุต นุส ติ"
ผู้ที่เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเ งินแก่ ส่วนสีรองลงมาคือ สีขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้นสีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก




พระบูชาของคนเกิดวันเสาร์
พระพุทธรูปปางนาคปรก


พระพุทธลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พ ังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
พระพุทธรูปปางนี้ มีที่มาจากเหตุการณ์ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอ ยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน พระยานาคมุจลินท์ได้เลื้อยมาทำขนดล้อม พระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย
พระคาถาบูชาผู้เกิดวันเสาร์ ท่านให้สวดบูชาพระพุทธรูปปางนาคปรกให้เต็มกำลัง 10 จบ เวลาสวดให้หันหน้าไปทางทิศหรดี จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน สวดอังคุลิมาลปริตร ดังนี้
"ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ"
หรือจะใช้สวดด้วยหัวใจพระคาถาโดยย่อดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยสวดให้เต็มกำลัง 10 จบ เช่นเดียวกัน

" ภะ สัม สัม วิ สะ เห ภะ "
ผู้ที่เกิดวันเสาร์์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้นสีเขียว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น